วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

BIOS คืออะไร?

BIOS ย่อมาจาก Basic  Input Output System ไบออส คือโปรแกรมเล็กๆ
ที่ถูกเก็บไว้ในชิป ROM ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด
และมีส่วนสำคัญมากในการบู๊ตเครื่อง  เพราะไบออสจะคอยตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดหาก
อุปกรณ์ตัวไหนมีการทำงานผิดพลาด  ไบออสก็จะรายงานหรือส่งสัญญาณเสียงให้เราได้
ทราบทันที ไบออสจะทำงานหลังจากมีการเปิดสวิทซ์ ทันที ที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์
โดยจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์ เช่น harddisk, disk drive,
cd-rom, ram เป็นต้น
    ไบออส (Basic Input Output System) เป็นโปรแกรม ขนาดเล็กที่อยู่ในเมนบอร์ด
ของคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบการทำงานของเครื่องที่ทำงานอยู่ในระดับต่ำกว่า
ระบบปฏิบัติการโดยบรรจุอยู่ในชิป ROM โดยจะมีฟังก์ชันควบคุมการทำงานต่างๆที่จำเป็นต่อ
การบู๊ตระบบ ถ้าไบออสเสียหายเครื่องจะบู๊ตไม่ได้




หน้าที่หลักของไบออส
หน้าจอการทำงานของไบออส เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และรายงานผลการตรวจสอบให้เราทราบ
ว่าอุปกรณ์ในเครื่องยังทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ ดังได้สรุปดังนี้ ตรวจสอบอุปกรณ์หลักของ
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อเครื่องทุกเครื่อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผล
เมาส์ คีย์บอร์ด และหน่วยความจำหลัก หากพบว่ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งทำงานไม่ถูกต้องไบออส
จะแจ้งให้ทราบโดยส่งเสียง ปิ๊บ หรือแสดงข้อความแจ้งข้อผิดพลาดออกมาทางหน้าจอ

Red Hat คืออะไร

Red Hat คืออะไร

     Red Hat เป็น Distribution หนึ่งใน Linux ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในอเมริกา เมื่อเทียบกับ Distribution อื่นๆของ Linux อย่าง Mandrake, slackware หรือลีนุกซ์พันธ์ไทยอย่าง TLE เพราะ RedHat มีโปรแกรมติดตั้งที่ใช้งานง่าย ตลอดจนโปรแกรมเสริมหรือแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น โดยปรกติแล้วการติดตั้งซอฟต์แวร์ในระบบ ยูนิกซ์ และ ลีนุกซ์ จะต้องขยายไฟล์ที่ถูกบีบอัดไว้ก่อน แล้วคอมไพล์ตัวโปรแกรม ลีนุกซ์ ใหม่พร้อมกับโปรแกรมเหล่านั้น จึงจะสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์นั้นเพิ่มลงไปในระบบได้ ดังนั้น เรดแฮท จังได้พัฒนาโปรแกรม RPM (Red Hat Package Management) ขึ้นมาสำหรับติดตั้ง ถอดถอนและบริหารชุดของแพ็กเกจดังกล่าวโดยไม่ต้องเสียเวลาคอมไพล์ใหม่  นอกจาก RPM แล้วทางบริษัท ยังได้พัฒนาโปรแกรมติดตั้งที่เรียกว่า GLINT (Graphical Linux Installation Tool) ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบกราฟิกขึ้น จึงทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก   
     Red Hat คือบริษัทซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์OpenSource เรดแฮตเป็นผู้นำตลาดของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ Red Hat Enterprise Linux (Linux OS ตัวหนึ่ง) 





แป้นพิมพ์ไทย " เกษมณี และ ปัตตะโชติ"

แป้นพิมพ์ ไทย เกษมณี  เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย สร้างมาใช้งานกับเครื่องพิมพ์ดีด ไม่ได้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ถูกคิดค้นโดยคุณสุวรรณประเสริฐ เกษมณี โดยในตอนแรกผังแป้นพิมพ์นี้ถูกเรียกว่า แบบมาตรฐาน ในแป้นไม่มี ฃ/ฅ


แป้นพิมพ์ ไทย ปัตตะโชติ เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดยคุณสฤษดิ์ ปัตตะโชติ  เนื่องจากคุณสฤษดิ์ ปัตตะโชติได้นำเสนอผังแป้นพิมพ์แบบใหม่ ที่เรียกว่าแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ
ปัจจุบัน แป้นพิมพ์เกษมณีถูกนำไปพัฒนาเป็นแป้นพิมพ์ของคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

Command Line Interface

Command Line Interface

การใช้ Command Line Interface นั้นเป็นหน้าจอสีดำๆ การใช้งานคือการคีย์คำสั่งลงไปในหน้า Command Line Interface แล้วกด Enter สามารถเช็คสิ่งต่างๆ หรือสั่งให้ทำงานต่างๆได้ หน้าต่างนี้เราเรียกว่า Commandline ซึ่งถ้าหน้าจอที่เราให้กันอยู่ปัจจุบันซึ่งมีหน้าจอที่สวยงามใช้งานง่าย
เราเรียกว่าหน้าจอ GUI หรือ Graffic User Interface ซึ่งตัว Command Line Interface นั้นในระบบปฏิบัติการวินโดว์นั้น สามารถใช้ได้โดย เข้าไปที่ ปุ่ม Start เลือก Run และพิมพ์ cmd หน้าต่าง Command Line Interface หรือสามารถใช้คีย์ลัดได้คือ Start +  R และพิมพ์ cmd  ก็จะขึ้นมาให้ใช้งาน 
คำสั่งทั่วๆไปในการใช้ Command Line Interface มีมากมาย แต่คำสั่งทั่วไปมีประมาณนี้ เช่น
dir คือ การเรียกดูโฟลเดอร์
mk dir คือ การสร้างโฟลเดอร์
tree คือ  การแสดงโครงสร้าง
copy คือ การคัดลอก
ren คือ การเปลี่ยนชื่อ สกุลไฟล์ มีคำสั่งเท่ากับคำสั่ง rename
help dir คือ การดูคำสั่ง
del คือ คำสั่งลบ
และมีคำสั่งอื่นๆอีกมากมาย

     

โปรแกรม Netcut

โปรแกรมตัดอินเทอร์เน็ต ในองค์กรหรือหอพัก ที่มีการตรวจสอบแล้วว่า ip เครื่องนั้นมีการใช้งานที่รุนแรงทำให้เน็ตของเราช้าไปด้วย เราก็ใช้เจ้าโปรแกรม Netcut ตัวนี้เข้าไปตัดเน็ตซะเลย

โปรแกรม Wireshark

Wireshark เป็นโปรแกรมประเภท Packet Analyzer หรือตัววิเคราะห์ข้อมูลที่ส่งกันไปใน Network .. ความสามารถของ Wireshark มี 2 อย่างง่ายๆครับ อย่างแรกก็ดักจับข้อมูลและบันทึกมูลทุกอย่างที่ผ่านการ์ด LAN หรือ Network Interface Card ใดๆของเรา และอีกข้อก็คือเอามาแสดงผลให้เราดู เพื่อที่เราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าตอนนี้มีข้อมูลอะไรอยู่บ้างวิ่งใน Network ส่วนใหญ่ จะเอาไว้แก้ไขปัญหาบน Network

พรบ. คอมพิวเตอร์

พรบ. คอมพิวเตอร์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควร
มีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ
ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
                มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า
                อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                 “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึง
แหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
ของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
                                (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น
                โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                                (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
                “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ
ออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าว
ไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไป
ใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา
ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
                                (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                                (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์                 หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
                หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท
                ถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
                มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
                อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
                                (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                                (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
                                (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                                (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
                มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
                มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูล
คอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
                มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
                                (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
                                (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร